Monday, December 04, 2006

ปรัชญาน่ารักๆ 19 ข้ อ (ไม่เปิดอ่านน่าเสียดายตาย)


ข้อควรรู้ 19 ข้อ ปรัชญาต๊องๆ ของชีวิต

1.อย่าขับรถเร็วเกินที่เทวดาประจำตัวของคุณบินทันเป็นอันขาด

2.การแก้แค้นไม่ทำให้เรารู้สึกดีขึ้นเหมือนกับดื่มน้ำทะเลเวลาหิวน้ำนั่นแหละ

3.ความหมายของความสุขขึ้นอยู่กับสิ่งที่คุณอยากให้มันเป็น

4."อย่ากลัวความฝันของคุณ: มันง่ายกว่าที่คิด"

5.นักวิทยาศาสตร์กล่าวว่า ทุกๆ4 คนจะมีคนหนึ่งที่สติเพี้ยนๆลองเช็คเพื่อนคุณสัก3คนสิถ้าทุกคนปกติดีก็คุณน่ะแหละ

6.แบ่งปันรอยยิ้มของคุณให้กับทุกคน แต่ให้เก็บจุมพิตให้กับคนเพียงคนเดียว

7.น้ำตาจะให้คุณก็แค่ความเห็นอกเห็นใจ แต่เหงื่อจะทำให้คุณประสบความสำเร็จ

8. สิ่งที่ดีที่สุดในชีวิตนี้ไม่ใช่วัตถุ

9. การออกกำลังกายที่ดีที่สุดสำหรับจิตใจคือการก้มลงแล้วช่วยคนอื่นให้ลุกขึ้น

10. คนๆหนึ่งอาจทำอะไรผิดพลาดได้หลายอย่างแต่มันจะกลายเป็นความพ่ายแพ้ไปจริงๆเมื่อเขาเริ่มโยนความผิดไปให้คนอื่น

11. เรารู้สึกดีที่มีความสำคัญ แต่ที่สำคัญยิ่งกว่าก็คือเป็นคนดี

12.มีแต่ปลาตายที่ลอยตามน้ำ

13.คุณค่าของคนๆหนี่งบอกได้จากวิธีที่เขาปฏิบัติต่อคนที่เขาไม่ต้องการ

14. เงยหน้าขึ้นรับแสงตะวัน แล้วคุณจะไม่มีวันพบกับเงามืด

15.คนอ่อนแอเท่านั้นที่ให้อภัยใครไม่เป็นการให้อภัยเป็นคุณสมบัติของผู้เข้มแข็ง

16.ในโลกนี้ไม่มีคนแปลกหน้าสำหรับเรา มีแต่เพื่อนที่เรายังไม่ได้พบเท่านั้น

17.เมื่อคุณพูดความจริง คุณไม่จำเป็นต้องไปนั่งจำอะไรทั้งนั้น

18. เด็กๆต้องการความรักมากที่สุดเมื่อพวกเขาทำตัวไม่น่ารัก

19. คำว่า listen ( ฟัง) นั้นใช้ตัวอักษรชุดเดียวกับคำว่า silent ( เงียบ)




Friday, November 03, 2006

องค์คุณของกัลยาณมิตร ๗ ประการ


พอดีอ่านเจอเรื่ององค์คุณของบุคคลผู้จัดว่าเป็นกัลยาณมิตร ซึ่งมีอยู่ ๗ ประการ เห็นว่าน่าสนใจเลยเอามาให้อ่านกัน

๑.ปิโย น่ารัก (ในฐานที่เป็นที่วางใจและสนิทสนม

๒.ครุ น่าเคารพ (ในฐานให้เกิดความรู้สึกอบอุ่นใจ เป็นที่พึ่งได้และปลอดภัย)

๓.ภาวนีโย น่ายกย่อง (ในฐานทรงคุณคือความรู้และภูมิปัญญาแท้จริง)

๔.วัตตา รู้จักพูด (คอยให้คำแนะนำว่ากล่าวตักเตือน เป็นที่ปรึกษาที่ดี)

๕.วจนักขโม อดทนต่อถ้อยคำ (พร้อมที่จะรับฟังคำซักถามต่างๆ อยู่เสมอ และสามารถรับฟังได้ด้วยความอดทน ไม่เบื่อ)

๖.คัมภีรัญจะ กถัง กัตตา (กล่าวชี้แจงแถลงเรื่องต่างๆ ที่ลึกซึ้งได้)

๗.โน จัฏฐาเน นิโยชเย (ไม่ชักจูงไปในทางเสื่อมเสีย)

Monday, October 02, 2006

นายกรัฐมนตรีคนใหม่

หลังจากที่คณะปฏิรูปการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข (ค.ป.ค) ได้ทำการยึดอำนาจจากรัฐบาลทักษิณ ชินวัตร เมื่อวันที่ ๑๙ กันยายน ๒๕๔๙ ที่ผ่านมา วันที่ ๓๐ กันยายน ๒๕๔๙ ได้มีประกาศพระบรมราชโองการให้ใช้ธรรมนูญการปกครองราชอาณาจักร ๒๕๔๙ ซึ่งมี ๓๙ มาตรา และในวนที่ ๑ ตุลาคม ๒๕๔๙ มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ ให้ พลเอกสุรยุทธ์ จุลานนท์ องคมนตรี ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี
นายกรัฐมนตรีท่านนี้มีประวัติที่น่าสนใจ เพราะบรรพบุรุษของท่านล้วนแต่เกี่ยวข้องกับเหตุการณ์สำคัญทางการเมืองมาแล้ว เริ่มจากเจ้าคุณตาของท่านคือ พระยาศรีสิทธิสงคราม (ดิ่น ท่าราบ) หนึ่งในสี่ทหารเสือสมัยเปลี่ยนแปลงการปกครอง ต่อมาได้ไปเข้ากับกบฎบวรเดช นำกองกำลังมาล้มล้างรัฐบาลคณะราษฎร์ ท่านถูกยิงตาย ส่วนคุณพ่อของท่านคือ พ.ท.โพยม จุลานนท์ เคยเป็นทหาร และสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร ต่อมาได้เลื่อมใสในลัทธิคอมมิวนิสต์ จึงหนีออกไปอยู่ป่า ตั้งแต่ท่านนายกฯ อายุได้ ๖ ขวบ พ่อของท่านใช้ชื่อว่า "สหายคำตัน"
ตลอดเวลาที่ท่านรับราชการทหาร ท่าก็ได้วางตัวดีมาตลอด ท่านเป็นคนเรียบๆ ไม่ค่อยพูดมาก สุขุม และมีความเป็นผู้ดีมาก ในสมัยที่ท่านเป้น ผบ.ทบ. ก็ได้เกิดความขัดแย้งกับทักษิณ ทำให้ถูกย้ายไปเป็น ผบ.สูงสุด และเมื่อท่านเกษียณอายุราชการ ท่านได้ไปบวชที่วัดป่า เมื่อลาสิกขาบทแล้ว ได้รับโปรดเกล้าฯ ให้เป็นองคมนตรี

Saturday, September 30, 2006

ธรรมะกับการแก้ปัญหาชีวิต ๑

ธรรมะเป็นสิ่งที่มีอยู่แล้วตามธรรมชาติ และสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ได้ทรงค้นพบและนำมาสั่งสอนแก่ชาวโลก โดยมีจุดหมายเพื่อให้ทุกคนได้พ้นจากความเกิด แก่ เจ็บ ตาย เพราะการเกิด แก่ เจ็บ ตาย นั้นเป็นทุกข์อย่างยิ่ง
ธรรมะที่พระพุทธองค์ทรงค้นพบนั้นทรงตรัสว่ามีอยู่มากมายมหาศาลเหมือนต้นไม้ในป่า แต่ที่ทรงนำมาสั่งสอนนั้น มีเพียงเท่าใบไม้ในกำมือ หมายความว่าทรงเลือกแต่สิ่งที่จำเป็นที่จะช่วยให้สัตว์โลกพ้นทุกข์ได้เท่านั้น
ทุกวันนี้มนุษย์เราเมื่อมีทุกข์ ก็พยายามแสวงหาสิ่งแก้ทุกข์ แต่บางทีนั้นสิ่งที่แก้ไขกลับเพิ่มความทุกข์ให้เรามากขึ้น เช่น เราหันไปดื่มเหล้า เพื่อลืมความทุกข์จากการที่คนรักทิ้งเราไป แต่กลับทำให้เราได้ทุกข์อย่างอื่นขึ้นมา เช่น อาการปวดศีรษะ ไม่สบาย ต่างๆ นานา และการดับทุกข์เช่นนี้ ก็เป็นการดับเพียงชั่วคราว คือดับเมื่อเราดื่มเห้าเท่านั้น เมื่อหายเมา หรือตื่นขึ้นมาแล้ว เราก็ทุกข์เหมือนเดิม
การดับทุกข์ในทางพระพุทธศาสนานั้น ทรงสอนว่าให้พิจารณาถึงสรรพสิ่งว่าตกอยู่ภายใต้กฎไตรลักษณ์ ได้แก่ อนิจจัง (ความไม่เที่ยง) ทุกขัง (เป็นทุกข์) และ อนัตตา (ความไม่มีตัวตน) ท่านสอนว่าเมื่อเรามีทุกข์ เช่น เราโกรธ หรือเกลียดบุคคลใดบุคคลหนึ่ง ให้เราพิจารณาว่า ตัวของเขาประกอบด้วยดิน น้ำ ลม ไฟ ซึ่งแปรปรวนไม่เที่ยงอยู่ตลอดเวลา และไม่นานก็ต้องตาย ในส่วนของอนัตตานั้น การที่เราคิดว่า "เป็นเรา" "เป็นเขา" คือ สิ่งสมมติ แท้จริงไม่มีเรา ไม่มีเขา เพราะเรา และเขาก็คือการประกอบกันของธาตุดิน น้ำ ลม ไฟ และวิญญาณธาตุ หากธาตุเหล่านี้แปรปรวน หรือแยกกันแล้ว เราก็ตาย ไม่มีเรา ไม่มีเขา อีกต่อไป เราและเขาก็เหมือนกันเช่นนี้
การพิจารณากฎไตรลักษณ์ก็เป็นวิธีหนึ่งที่จะช่วยแก้ปัญหาชีวิตได้ กล่าวคือ ให้เรามองเห็นสภาพทุกอย่างตามความเป็นจริง และความโกรธ ความเกลียด ความอาฆาต พยาบาทของเราจะลดน้อยลง